The Pressure Vessel

ภาชนะรับแรงดัน

Pressure Vessel (ภาชนะรับแรงดัน) เป็นภาชนะที่ใช้กักเก็บของไหล ประเภทของเหลวหรือแก๊ส โดยลักษณะของภาชนะจะมีการออกแบบ เป็นภาชนะทรงกระบอกและมีฝาปิด (Dish head) โดยฝาปิดสำหรับ ภาชนะรับแรงดันมีหลากหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ของแรงดัน ประเภทของของไหลและการใช้งานของผู้ใช้ เป็นต้น สำหรับกระบวนการผลิตภาชนะรับแรงดันที่พบเห็นได้ใน อุตสาหกรรมทั่วไป เช่น Blow Down Tank, Detractor Tank, Steam header, Vessel Tank for filter เป็นต้น ซึ่งการผลิตภาชนะ รับแรงดันอ้างอิงการผลิตต้องให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือข้อกำหนดสากล โดยมาตรฐานการผลิตและการทดสอบจะอ้างอิงจากมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า ASME Boiler and Pressure Vessel Code (BPVC) นอกจากนี้การผลิตภาชนะรับแรงดันที่อ้างอิง การผลิตและการทดสอบจาก ASME BPVC มีการรับรองคุณภาพ

 

ด้วยการประทับตรา U-Stamp กับไม่มีการประทับตรา U-Stamp ความแตกต่างของการประทับตรา U-Stamp มีผลต่อด้านการทวน สอบและราคาของภาชนะรับแรงดัน จะสูงกว่าภาชนะรับแรงดันที่ไม่มีการประทับตรา U-Stamp

โดยผู้ที่สามารถรับรองว่าภาชนะแรงดันต้องเป็นหน่วยงาน Third Party ที่เป็นตัวแทนระหว่างผู้ผลิตกับ ASME เรียกว่า AI (Authorized Inspector) เพื่อทำให้เป็น U-Stamp Vessel ได้ โดยค่าใชจ่ายสำหรับการประทับตรา U-Stamp จะขึ้นอยู่กับประเภทของภาชนะหรือข้อกำหนดของบริษัทผู้ใช้นั้นๆซึ่งบริษัท โตเกียว เอเนซิส (ไทยแลนด์) จำกัด สามารถผลิตภาชนะรับแรงดันโดยอ้างอิงมาตรฐานของ ASME Boiler and Pressure Vessel Code (BPVC)

ทั้งงานที่รับประกันโดยการประทับตรา U-Stamp หรือไม่ประทับตรา U-Stamp โดยใช้การออกแบบและ การคำนวณจากโปรแกรม Compress ที่อ้างอิงมาตรฐาน ASME นอกจากการอ้างอิงตามมาตรฐาน ASME แล้วนั้นก็สามารถอ้างอิงตามมาตรฐานของบริษัทผู้ใช้ เพื่อให้งานมีความสมบูรณ์ตามความสอดคล้องและความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

* หมายเหตุ : อุปกรณ์ของระบบไฟฟ้าหรือระบบอื่นๆที่นอกเหนือจากการประกอบชิ้นงาน การจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นขอบเขตของลูกค้าหรือการตกลงกันภายหลัง

Tank

ถังเก็บและจ่ายของเหลวและก๊าซ

มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกฐานแบนมีหลายขนาดตั้งแต่ถังขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จนถึงเป็นถังขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน วัสดุที่ใช้สามารถเป็นได้ทั้งเหล็กและสแตนเลสและสามารถเลือกสารที่จะเคลือบ eproxy หรือ FRP เพื่อให้ตัวถังทนกรดหรือด่างของสิ่งที่อยู่ในถังได้อีกด้วย หรือ ถ้าด้านในต้องการใส่ของเหลวที่มีความร้อนสูงหรือ ต้องการเก็บความเย็นไว้ก็สามารถใส่ฉนวนถังด้านนอกได้เช่นกัน

Structure

ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของอาคารที่ใช้สำหรับรับน้ำหนัก

ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของอาคารที่ใช้สำหรับรับน้ำหนัก โดยทั่วไปใช้เสริมหรือต่อเติมในส่วนที่ไม่สามารถใช้คอนกรีตในการก่อสร้างได้ วัสดุที่ใช้ทำส่วนใช้เป็นเหล็กรูปพรรณ เช่น H-BEAM CHANNEL ANGLE และ PLATE การออกแบบโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นแบบ โครงถักเพื่อกระจายน้ำหนักและรองรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้ จุดเชื่อมต่อของโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นแบบเชื่อม และ แบบที่ใช้น็อตในการเชื่อมต่อเพื่อง่ายต่อการประกอบและติดตั้งชิ้นงาน

* หมายเหตุ : รูปแบบของโครงสร้างจะขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนัก และการออกแบบของลูกค้า

Plate Work

Boiler

หม้อไอน้ำ

เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างอย่างแข็งแรงถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางวิศวกรรมภายในภาชนะบรรจุน้ำและไอน้ำ


หม้อไอน้ำจะได้รับความร้อนจากภายนอก หรือภายในก็ได้ จากนั้นจะส่งผ่านความร้อนต่อไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อไอน้ำจนกระทั่งน้ำกลายเป็นไอ ส่วนใหญ่แล้วจะมีหน้าที่ในการสร้างไอน้ำเพื่อใช่ส่งผ่านความร้อนไปยังเครื่องจักร ทำให้ต้นทุนค่าพลังงานถูกลงกว่าการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องจักร

หม้อไอน้ำนั้นปกติไม่ได้หมายถึงเครื่องกำเนิดไอน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงเครื่องกำเนิดน้ำร้อน (hot water boiler) และเครื่องกำเนิดน้ำมันร้อน (Thermal oil heater) ซึ่งที่กำลังอธิบายอยู่นี้จะหมายถึงการแบ่งชนิดของบอยเลอร์ตามตัวนำความร้อนโดยปกติทั่วๆ ไป

● hot water boiler จะใช้งานช่วงอุณหภูมิไม่สูงมากนักไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส ยกเว้นว่าเราจะใช้งานภายใต้ความดัน (under pressure)
● steam boiler เป็นที่นิยมใช้งานบ่อย เพราะว่าไอน้ำเป็นตัวนำความร้อนที่ดีที่สุดถ่ายเทได้เร็ว โดยทั่วไปแบ่งได้หลายแบบ

LUBE OIL AND HYDRAULIC MODULE

ถังน้ำมันหล่อลื่นระบบไฮดรอลิค

ถังน้ำมันหล่อลื่นระบบไฮดรอลิคเป็นชุดอุปกรณ์ย่อยภายในระบบใหญ่ของของไหลที่ใช้ในโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบแมคคานิคและระบบไฟฟ้า โดยด้านล่างของโมดูลจะเรียกว่าถัง ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับของเหลว (น้ำมัน) และด้านบนประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ระบบมอเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตามข้อกำหนด ของบริษัทผู้ใช้งาน


โดยชุดระบบไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหนัาที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานนระบบไฮดรอลิค น้ำมันภายในถังด้านล่างจะถูกส่งเข้าสู่ท่อแต่ละลูปบริเวณด้านบนถังของไหล(น้ำมัน) ซึ่งน้ำมันภายในท่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากอุณหภูมิเริ่มต้นเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นตามข้อกำหนดของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถส่งของไหลไปใช้ยังระบบถัดไปได้โดยให้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆ ของระบบภายในโรงไฟฟ้า

ซึ่งบริษัท โตเกียว เอเนซิส (ประเทศไทย)จำกัด สามารถผลิต Lube Oil and Hydraulic Module เพื่อขยายและรองรับการผลิตชุดระบอุปกรณ์ย่อยภายนโรงไฟฟ้า ที่อ้างอิงตามมาตรฐานของบริษัทผู้ใช้งานและมาตรฐานสากลที่ผู้ใช้งานระบุ ผสานกับมาตรฐานการทำงานของบริษัท โตเกียว เอเนซิส (ประเทศไทย) จำกัด

* หมายเหตุ : รูปแบบของโครงสร้างจะขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนัก และการออกแบบของลูกค้า

Vapor Recovery Unit Module (VRU)

หน่วยควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า ระบบท่อ ถัง และอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสถานะของไอน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นของเหลวดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาไอน้ำมันเบนซินที่ยังไม่ได้มีการเผาไหม้ ระเหยสู่อากาศโดยตรงจึงได้ มีการนำเครื่องควบคุมไอระเหยน้ำมัน (Vapor Recovery Unit : VRU) เพื่อนำเอาไอน้ำมันที่ระเหยออก กลับมาใช้ และช่วยลดมลพิษของไอระเหยของน้ำมัน ในบรรยากาศไม่ให้เกินมาตรฐาน

OTHERS MODULE

Air Heater casing

เครื่องทำความร้อนล่วงหน้าของอากาศ

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนของหม้อไอน้ำและลดการใช้พลังงานนั้นหมายความว่าไอเสียในปล่องของหม้อไอน้ำที่ไหลผ่านแผงระบายความร้อนภายในและอุ่นอากาศก่อนเข้าสู่หม้อไอน้ำไปยังพื้นผิวทำความร้อนด้วยอุณหภูมิที่กำหนด โดยทั่วไปเครื่องอุ่นอากาศจะแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ แบบแผ่น แบบหมุน และชนิดท่อ หลักการทำงานของเครื่องอุ่นอากาศล่วงหน้าถูกนำมาใช้โดยใช้แบบโรตารี่ ตัวอย่างเช่นสารที่ติดไฟที่ยังไม่เผาไหม้จำนวนมากอาจเกาะอยู่บนวัตถุการถ่ายเทความร้อน และเครื่องอุ่นอากาศอาจติดไฟได้การรั่วไหลของอากาศ

Machine Work

ตัดเฉือนหรือสกัดเนื้อวัสดุออกให้ได้รูปร่างและขนาดที่ต้องการ

กระบวนตัดเฉือนหรือสกัดเนื้อวัสดุออกให้ได้รูปร่างและขนาดที่ต้องการ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น กลึง กัด ตัด เจียระไน ไส เจาะ เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตชิ้นส่วนโลหะ พลาสติก เซรามิค วัสดุวิศวกรรม ต่างๆ และไม้ โดยใช้ Cutting tools เป็นส่วนที่เฉือนเนื้อวัสดุออกให้เป็นรูปร่างตามแบบ


วิธีการกัดมีหลายประเภทซึ่งแต่ละวิธีจะมีขีดความสามารถในการผลิตชิ้นงานที่มีรูปร่างและลักษณะ ผิวงานที่เฉพาะตัว วิธีการกัดที่นิยมใช้กันมาก 3 วิธี ได้แก่ การกลึง (Turning) การเจาะ (Drilling) และการกัดขึ้นรูป (Milling)

● การกลึง (Turning) ใช้เครื่องมือตัดที่มีคมตัดเดียว (Single cutting edge) ในการปอกเนื้อวัสดุจาก ชิ้นงานที่กำลังหมุนและทำให้เกิดชิ้นงานรูปทรงกระบอก (Cylindrical shape) ความเร็วในการกลึงถูกกำหนดโดยความเร็วของการหมุนชิ้นงาน ส่วนการป้อนคือการเคลื่อนที่ช้าๆของมีดตัดในทิศทาง ขนานกับแกนหมุน (Axis of rotation) ของชิ้นงาน

● การเจาะ (Drilling)
ใช้ในการผลิตรูกลม (Round hole) ซึ่งทำได้โดยการใช้เครื่องมือตัดที่มีสองคมตัด (Two cutting edges) เครื่องมือตัดจะเคลื่อนที่ในทิศทางที่ขนานกับแกนการหมุน (Rotation of axis) ของชิ้นงานและเจาะลงไปในชิ้นงานทำให้เกิดรูกลวง

● การกัดขึ้นรูป (Milling)
จะใช้เครื่องมือตัดที่มีหลายคมตัด (Multiple cutting edges) มีดตัดจะหมุนและเคลื่อนที่ช้าๆสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของชิ้นงานทำให้เกิดระนาบของผิวงานใหม่ ทิศทางการป้อน(Feed direction) ของชิ้นงานจะตั้งฉากกับแกนการหมุนของเครื่องมือตัด ขณะที่การหมุนของใบมีดตัดถูกกำหนดด้วยความเร็ว (Speed) การกัดขึ้นรูปมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมี 2 วิธี ได้แก่ การกัดตามแนวนอน (Horizontal milling) และกานกัดตามแนวตั้ง (Vertical milling)

Crane Parts

ชิ้นส่วนเครน

บริษัท โตเกียว เอเนซิส (ประเทศไทย)สามารถผลิตส่วนประกอบของเครน ไม่ว่าจะเป็น Head Beam, Bogie, หรือ Connecting Beam ที่ต้องผ่านกระบวนการ Fabrication และ Heat Treatment ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการ Machining ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีหลากหลายและเป็น special material

Packing

การบรรจุภัณฑ์

บริษัท โตเกียว เอเนซิส (ประเทศไทย) มีทีมงานเพื่อการช่วยเหลือและทำการบรรจุสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า วิธีการยกย้ายสินค้า ชนิดของพาชนะบรรจุเพื่อขนส่ง ข้อกำหนดของระเทศที่ส่งออก และชนิดของบรรจุภัณฑ์ เช่น ลังไม้ กล่องไม้ ฟิล์มหด ฯลฯ

Weld Overlay

การเชื่อมโอเวอร์เลย์